บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน
การผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ
ชื่อผู้รายงาน : นางสาวไปรยา ขุนทอง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ปีที่ศึกษา : 2562
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ประชากรในการพัฒนาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 จำนวน 46 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 8 กิจกรรม 2. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ระยะ เวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 24 แผน 3. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ 4. แบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ก่อนและหลังการประเมินของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ 5. แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เพื่อหาค่าประสิทธิภาพกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีคะแนนประสิทธิภาพกระบวนการ E1 คิดเป็นร้อยละ 84.11 ประสิทธิภาพผลลัพธ์ E2 คิดเป็นร้อยละ 90.00 ตามลำดับ 84.11/90.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. การเปรียบเทียบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ โดยมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 17.56 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 3.46 หรือ ร้อยละ 43.91 และ หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 36.00 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 2.31 หรือ ร้อยละ 90.00 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนประเมินหลังการทำกิจกรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 สูงกว่าก่อนเรียน 18.44 คะแนน หรือร้อยละ 46.09 และมีค่า t – test เท่ากับ 45.197 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง พบว่า ข้อคำถามที่ค่าคะแนนสูงสุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจและความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.94 และข้อคำถามที่ค่าคะแนนต่ำสุด คือ นักเรียนมีต้องการให้คุณครูจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในครั้งต่อไป
มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.75 นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง เฉลี่ย เท่ากับ 2.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.29 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ผสมผสานกระบวนการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการความเชื่อมั่นในตนเอง ได้เป็นอย่างดี
|